เรียนรู้ผ่านการเล่น : พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ - Learning Through Play : Mathematical Development
วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
บันทุกอนุทินครั้งที่ 9
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 30 ม.ค. 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
วันนี้เป็นการนำเสนองานกลุ่มค่ะ เพื่อนๆต่างตั้งใจที่จะนำเสนอผลงานกันสุดฤทธิ์
โดมิโนหรรษา
ผลงานของกลุ่มเรา
และนี่ก็คือผลงานของเพื่อนๆค่ะ (สวยๆทั้งนั้นเลย)
ความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรม
- สื่อที่ดีไม่ได้มีเพียงแค่ความสวยงาม แต่สื่อควรมีความเหมาะสมกับวัยของผู้เล่น
- การทำสื่อควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อประโยช์แก่ผู้เล่น
การนำไปใช้
- ทุกครั้งที่มีการทำสื่อ ก็จะมีการวางแผนก่อนที่จะลงมือทำ ต้องคำนึงถึง ประโยชน์ ความเหมาะสม และความสวยงาม(เพื่อเป็นจุดดึงดูดในการเล่น)
บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 23 ม.ค.2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
วันนี้เราเรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ คือ อาจารย์ให้ฝึกเขียนแผนการสอน ตอนแรกอาจารย์จะให้ความรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและวิธีการสอดแทรกความรู้ทางคณิตศาสตร์ลงไปในกิจกรรม
อาจารย์ให้เราแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้ช่วยกันเขียนแผนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์จะปล่อยให้เราช่วยกันเขียนแผนโดยยึดกรอบมาตรฐานที่อาจารย์ให้มา แต่รูปแบบของกิจกรรมเราสามารถคิดขึ้นเองได้อย่างอิสระ
แผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มเราจะเป็นของเด็กอนุบาล 3 กิจกรรม : รูปเรขาคณิตแปลงกาย
นี่คือแผนของกลุ่มเรา
ความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรม
-ได้เรียนรู้เรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
-ได้ฝึกการคิดการวางแผนในการทำงานกลุ่ม
-ได้เทคนิคการสอดทรอกความรู้ทางคณิตศาสตร์ลงไปในการทำกิจกรรมต่างๆ
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บันทึกอนุทินครั้ที่ 7
บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 16 ม.ค. 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
วันนี้เป็นการเรียนภาคปฏิบัติ ซึ่งวันนี้มีทั้งหมด 2 กิจกรรม คือ
1. การสร้างสรรค์รูปร่างเรขาคณิต เริ่มจาก อาจารย์แจกอุปกรณ์ให้เช่น กระดาษสี สีไม้ กาว เป็นต้น
ให้นักศึกษาทุกกลุ่มเรียงรูปร่างเรขาคณิตแบบไหนก็ได้ แต่ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่3 และ 4 คือเรื่อง เรขาคณิตและ พีชคณิต ทุกกลุ่มต่างก็สร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างเต็มที่
ผลงานของพวกเราคะ ^^
2. การให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ 3 รูปแบบคือ แบบแรก คือ แบบเปรียบเทียบ
แบบที่2 คือแบบแผนภูมิแท่ง และ
แบบที่ 3.แบบวงกลม
เริ่มจาก อาจารย์แจกอุปกรณ์ คือ กระดาษ สี ปากกาเมจิก จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายงายและมีตัวอย่างให้นักศึกษาดู แต่ละกลุ่มจะได้รับเรื่องไปทำจากการจับฉลาก กลุ่มของเราได้ รูปแบบแรกคือ การเปรียบเทียบ กลุ่มเราเลือก( เรื่อง สัตว์บก สัตว์น้า ) พอช่วยกันทำงานจนเสร็จก็ส่งตัวแทนออกไปนำเสนองาน
หน้าชั้นเรียน
ความรู้ที่ได้รับ
- กื่ารเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นแบบเข้าใจง่าย เรียนรู้จากเรื่องใกล้ตัว อย่างกิจกรรมแรกของวันนี้เป็นเรื่องรูปร่างเรขาคณิตที่สามาถเชื่อมโยงกับเรื่องพีชคณิตได้อย่างง่าย
- การเก็บข้อมูลสำหรับเด็กปฐมวัย มีหลากหลายรูปแบบซึ่งการเก็บข้อมูลทั้ง 3 แบบนี้จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วม และจะให้ความร่วมมือมากกว่าการนั่งตอบคำถามแบบปกติ
การนำไปใช้
- การเรียนรู้ในวันนี้ทำให้รู้จักเทคนิคการสอนที่เด็กๆจะสามารถเข้าใจได้ง่าย และชัดเจนเช่นเรื่องรูปร่างเรขาคณิต เรื่องการเรียงลำดับต่างๆซึ่งเป็นเรื่องพีชคณิต เป็นต้น
- การเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต
บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 9 ม.ค.2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
วันนี้เป็นการเรียนแบบภาคปฏิบัติ เริ่มจากอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกันทำงาน กลุ่มละ 5 คน โดยวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาในห้องช่วยกันแต่งนิทานเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต และแจกอุปกรณ์ให้ คือ กาว กรรไกร กระดาษ สี เป็นต้น จากนั้นแต่ละกลุ่มจะได้รับหน้าของตนเองกลุ่มของเราได้วาดหน้าแรก(ไม่ใช่หน้าปกนะคะ^^)
นิทานของห้องเราชื่อเรื่องว่า สามเกลอเจอแก๊ส! (ชื่อแปลกๆไปซักนิด55)
เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า.................... .
The end.
ความรู้ที่ได้รับ
นิทานสามารถเกิดจากสิ่งรอบตัวเรา นิทานที่สอดแทรกความรู้ลงไปจะทำให้เด็กๆได้รับความรู้อย่างไม่น่าเบื่อ เด็กๆจะได้พัฒนาความคิด และมีจิตนาการที่สร้างสรรค์ อย่างการแต่งนิทานที่เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต จะทำให้เด็กๆสามารถจดจำ ลักษณะของรูปทรงเรขาคณิตได้อย่างง่าย
การนำไปใช้
การสอดแทรกความรู้ทางคณิตศาสตร์มีหลากหลายรูปแบบเช่น แต่งเป็นนิทาน, เพลง, หรือบทกลอน เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)